รัชกาลที่ 6

ข้อมูลส่วนพระองค์

พระราชสมภพ         1 มกราคม พ.ศ. 2423
สวรรคต                   26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (45 พรรษา)
พระบรมราชชนก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมราชชนนี สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระมเหสี                 สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
                                พระนางเธอลักษมีลาวัณ
                                พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
พระราชบุตร             สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

พระนามเต็ม

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางตประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินค รวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธรบรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ

       พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

       พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน

       พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย[2]

       ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก

พระราชกรณียกิจ

       ระบบการศึกษาไทยรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลนี้ มีมหาวิยาลัยแห่งแรก คือ จุฬาฯและสถาบันการศึกษาแห่งแรก คือ เพาะช่าง ยกเลิกบ่อนการพนัน ลดการค้าฝิ่นซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักอีกแหล่งหนึ่งของรัฐบาล ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๕๖เป็นการเริ่มต้นให้คนไทยมีนามสกุลใช้ โดยได้ทรงพระราชทานนามสกุลแก่ผู้ที่ขอมาด้วยจัดตั้งธนาคารออมสิน ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด (ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหาการเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้ถึงปัจจุบันทรงริเริ่มตั้ง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งได้เป็นกิจการอุตสาหกรรมสำคัญของไทยต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ทรงจัดตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์ซึ่งเป็นหน่วยงานคล้ายกับสภพัฒนาการเศรษฐกิจในปัจจุบันทรงส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ผ่านสื่อมวลชนที่สำคัญ ในยุคนั้นคือหนังสือพิมพ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีเสรีภาพสูงยิ่งกว่าสมัยหลัง พ.ศ.2475 ทรงทดลองและฝึกให้ข้าราชบริพารรู้จักการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยทรงสร้างเมืองจำลอง
       "ดุสิตธานี" ขึ้น เป็นเมืองที่มีพรรคการเมือง,การเลือกตั้ง,และการบริหารตามระบอบประชาธิปไตย ตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวชิรพยาบาล เพื่อรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บไข้ได้ป่วยทรงเปิดสถานเสาวภา เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ ทรงเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นผลดีแก่ประเทศไทยอย่างยิ่งในฐานะผู้ชนะสงคราม ประเทศไทยสามารถเจรจากับประเทศมหาอำนาจ ขอแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทยทำให้ประเทศไทยพ้นสภาพการเสียเปรียบในด้านการศาล และสามารถดำเนินนโยบายด้านภาษีได้โดยอิสระ จัดตั้งกองเสือป่า ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นอันมาก จึงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าและ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์เป็นปราชญ์สยามทรงปรับปรุงและขยายงากิจการรถไฟ สร้างสะพานพระราม ๖ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมทางรถไฟทั้งปวงในพระราชอาณาจักรโดยโยงเข้ามาสู่ศูนย์กลางที่สถานีหัวลำโพง ทรงจัดตั้งกรมอากาศยานได้เริ่มการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังนครราชสีมาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น